งานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
การศึกษาระดับ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัย นางสาวอรกานต์ เพชรคุ้ม
ปีการศึกษา
2554
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเพาะปลูกพืช
สำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นเด็กปฐมวัย
อายุ 3-4
ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่
2
ปีการศึกษา
2553
ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จังหวัดนครปฐม มี 2
ห้องเรียน
จำนวน 46
คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เป็นเด็กปฐมวัย
อายุ 3-4
ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ห้องต้นกล้า
ภาคเรียนที่
2
ปีการศึกษา
2553
ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
สังกัดคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม จำนวน
23 คน
ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) โดยเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น
นิยามศัพท์เฉพาะ
-
เด็กปฐมวัย
-
การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
-
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
-
การรู้ค่าจำนวน
-
การเปรียบเทียบ
-
การเรียงลำดับ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
2. แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
1.
ขอความร่วมมือจากคณะผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
2. ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบ
(Pretest)
กับกลุ่มตัวอย่าง
แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง
โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเพาะปลูกพืชเป็นเวลา 8 สัปดาห์
สัปดาห์ละ 3
วัน
วันละ 30
นาที่
ระหว่างเวลา 10:00-10:30
น.
รวมทั้งสิ้น 24
ครั้ง
4. เมื่อครบ
8 สัปดาห์แล้ว
ทำการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองด้วยแบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ
เพื่อสรุปผลการวิจัย
6.
การแปรผลระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืชโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี
2.
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืชโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น