วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561
❤ ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้ส่งงาน การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง และนำเสนอวีดีโอที่ไปทดลองการใช้สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ทำจากรางไข่กับเด็กอนุบาลเพื่อบันทึกสังเกตพฤติกรรมของเด็กในการเล่นเกมภาพที่หายไปเป็นอะไรนะ
วันนี้อาจารย์ให้ส่งงาน การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง และนำเสนอวีดีโอที่ไปทดลองการใช้สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ทำจากรางไข่กับเด็กอนุบาลเพื่อบันทึกสังเกตพฤติกรรมของเด็กในการเล่นเกมภาพที่หายไปเป็นอะไรนะ
⧫ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับ
ผู้ปกครอง เรื่อง ชวนลูกทำน้ำมะนาวชวนลูกทำน้ำมะนาว
วัตถุประสงค์
➧ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของ
การนับ จำนวน การวัด เปรียบเทียบ เรขาคณิต(สมมาตร) ผ่านการทำน้ำมะนาว
➧ ฝึกให้ลูกเป็นเด็กช่างสังเกต
โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
วัสดุ อุปกรณ์
➧ มะนาว
➧ เลมอน
➧ มีดพลาสติก
➧ เครื่องคั้นน้ำมะนาว
➧ น้ำเย็น
➧ น้ำตาล
➧ แก้ว ชาม ช้อนตวง และช้อนสำหรับคน
➧ น้ำแข็งก้อน
ขั้นตอน
1. แม่ชวนลูกสนทนาเกี่ยวกับน้ำดื่มเย็นๆที่ช่วยดับกระหาย
เช่น น้ำมะนาว พร้อมชักชวนมาทำน้ำมะนาวทาน
2. แม่จัดเตรียมวัสดุ
และอุปกรณ์ในการทำน้ำมะนาวโดยให้ลูกช่วยหยิบวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
และให้ลูกบอกสิ่งที่ลูกรู้จักว่ามีอะไรบ้าง มีสิ่งใดที่ลูกไม่รู้จักบ้าง
3. แม่นำผลมะนาวและผลเลมอนมาให้ลูกสังเกตโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง
5 โดยแม่ใช้คำถามดังนี้
➧ สิ่งที่ลูกเห็นมันคืออะไร
เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างผลไม้ 2 ชนิดนี้ (อาจเปรียบเทียบลักษณะภายนอก เช่น ขนาด ผิว สี)
➧ แม่ผ่าครึ่งมะนาวและเลมอน (อาจให้ลูกทายว่าข้างในผลว่ามีสีเดียวกับผิวด้านนอกหรือไม่)
➧ ให้ลูกสังเกตและนับจำนวนกลีบภายในผลมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนกี่กลีบ
➧ ให้ลูกนับจำนวนเมล็ดของมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนกี่เมล็ด
➧ ให้ลูกดมเปลือกว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร
เหมือนกันหรือไม่
➧ ให้ลูกลองชิมรสมะนาวและเลมอนว่ามีรสชาติเป็นอย่างไร
4. หลังจากให้ลูกสำรวจส่วนประกอบของมะนาวและเลมอนแล้ว
ก็เริ่มลงมือทำน้ำมะนาวและน้ำเลมอน
โดยให้เด็กใช้มีดพลาสติกผ่าครึ่งของผลมะนาวและเลมอน (ผลมะนาวและเลมอนเป็นทรงรี เมื่อผ่าครึ่งผล
เนื้อในจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ ซึ่งเป็นการสมมาตรการหมุน ไม่ว่าจะหมุนไปทางใด
มันก็จะมีลักษณะเหมือนเดิมเสมอ
แม้ว่าบางผลจะไม่สมมาตรกันอย่างสมบูรณ์เนื่องจากอาจมีขนาดผลแตกต่างกัน)
โดยแม่ใช้คำถามถามลูกเมื่อลูกผ่าครึ่งมะนาวและเลมอนดังนี้
➧ ให้ลูกนับจำนวนกลีบมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนเท่ากันหรือไม่
5. นำมะนาวและเลมอนไปคั้นกับเครื่องคั้นน้ำผลไม้
พร้อมกับให้ลูกสังเกต รายละเอียดดังนี้
➧ ให้ลูกนับจำนวนเมล็ดของมะนาวและเลมอนแล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าอะไรมีเมล็ดมากที่สุด
➧ เปรียบเทียบปริมาณของน้ำมะนาวและน้ำเลมอนว่า
น้ำที่ได้จากอะไรได้ปริมาณมากที่สุดระหว่างมะนาว 1 ผล และเลมอน 1 ผล
โดยใช้ช้อนตวงตักน้ำที่คั้นได้ใส่ลงไปในชาม
6. แม่ชวนลูกผสมน้ำมะนาวและน้ำเลมอน
โดยให้ลูกใส่น้ำเย็นลงในแก้วๆ ละครึ่งแก้ว จำนวน 2 แก้ว และให้ลูกตวงน้ำมะนาวจำนวน
3 ช้อนชา ลงในแก้วใบที่ 1 และตวงน้ำเลมอน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในแก้วใบที่ 2 คนให้น้ำมะนาวและน้ำเลมอนเข้ากันกับน้ำเย็น
ลองชิมรดชาติของน้ำทั้ง 2 ชนิด แล้วใช้ช้อนตวงน้ำตาลเติมลงในแก้วทั้ง 2 ใบ
โดยใส่ทีละ 1 ช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วชิมรดชาติ
เติมน้ำตาลไปจนกว่าจะได้รสชาติที่ต้องการ และนำน้ำแข็งมาใส่ในน้ำมะนาวและน้ำ เลมอน และมาดื่มน้ำ มะนาวและเลมอนร่วมกัน โดยแม่ใช้คำถามดังนี้
➧ น้ำมะนาวและน้ำเลมอน
น้ำชนิดใดมีรดชาติเปรี้ยวที่สุด
➧ ลูกต้องใส่น้ำตาลกี่ช้อนในน้ำแต่ละชนิดถึงจะได้รดชาติที่ต้องการ
(น้ำมะนาวใส่น้ำตาลกี่ช้อนชา และน้ำเลมอนใส่น้ำตาลกี่ช้อน
น้ำชนิดใดใส่น้ำตาลมากที่สุดและมากกว่ากี่ช้อน)
➧ ลูกชอบน้ำอะไรมากที่สุดเพราะอะไร
7. แม่ให้ลูกบอกขั้นตอน
วิธีทำน้ำมะนาวและน้ำเลมอนให้แม่ฟังว่าทำอย่างไร
ประโยชน์
1.ลูกได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับ จำนวน การวัด เปรียบเทียบ เรขาคณิต(สมมาตร) ผ่านกิจกรรมการประกอบอาหาร
(การทำน้ำมะนาว)
2. ลูกสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการแสวงหาคำตอบด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
ต่อมาอาจารย์ให้ออกมานำเสนอวีดีโอที่ไปบันทึกสังเกตพฤติกรรมเด็กในการเล่นสื่อคณิตศาสตร์เกมภาพที่หายไปเป็นอะไรนะทำจากวัสดุเหลือใช้ คือ รางไข่ เด็กที่ได้ทดลองเล่นสื่อคณิตศาสตร์เป็นเด็กอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
บันทึกสังเกตพฤติกรรมของเด็กในการเล่นเกมภาพที่หายไปเป็นอะไรนะ
ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=TjRiROTcKyw
ต่อมาเป็นการนำเสนอรายงานของเพื่อนๆ
1.การนำเสนอบทความของ นางสาวสุภาลักษณ์ เรื่องเทคนิคสอนลูก"เก่งเลข"ง่ายนิดเดียว
การนับ1-100 ค่อยๆเพิ่มเนื้อหาให้กับเด็กกิจกรรมให้เด็กรู้จักการเพิ่ม-ลดจำนวน โดยการใช้ลุฏปัด หรือกระดุม เป็นต้น ในการทำกิจกรรมใช้การถามให้เด็กทาย ถ้าเด็กตอบถูกหรือตอบผิดก็ไม่เป็นไร เพราะเป้าหมายของการเล่นกิจกรรมนี้คือการ ทาย ให้เด็กคิด
2.การนำเสนอบทความของ นางสาววรรณภา เรื่อง คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมาก มุ่งเน้นให้เด็กปฐมวัยเรียน ทักษะ การอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ โดยไม่ได้คำนึงถึงตัวเด็ก ว่าเด็กในวัยนี้ควรให้เขาได้เล่น ได้เข้าสังคมกับเพื่อน การที่เราเร่งรีบอัดเนื้อหาวิชาการเข้าไปตั้งแต่วัยเด็กอาจจะมีผลตามมา คือเด็กบางคนอาจจะมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาไม่เท่าเทียมกัน
3.การนำเสนอบทความของ นางสาวจุฬารัตน์ เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี
เมื่อเรียนรู้คณิตวิทย์จากเสียงดนตรี บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อยเมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล พ่อแม่หลายคนอาจต้องถามตัวเองใหม่ว่าปัจจุบันการเรียนรู้ระดับปฐมวัยสิ่งที่สำคัญคือ การสร้าง “เจตคติที่ดี” ในการเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ
4.การนำเสนอวิจัยของ นางสาวสุพรรษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
5.การนำเสนอวิจัยของ นางสาวอริสา เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้าน พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นทุกด้าน ดังนี้
1.1 ด้านการสังเกตและการจำแนก
1.2 ด้านการเปรียบเทียบ
1.3 ด้านการจัดหมวดหมู่
1.1 ด้านการสังเกตและการจำแนก
1.2 ด้านการเปรียบเทียบ
1.3 ด้านการจัดหมวดหมู่
6.การนำเสนอวิจัยของ นางสาวพิมพ์สุดา เรื่อง การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม
7.การนำเสนอของ นางสาวสุพรทิพย์ เรื่อง คณิตศาสตร์รอบตัวเด็ก เป็นการใช้กิจกรรม 6 หลัก มาใช้ในการจัดกิจกรรมและประเมินเด็ก
❤ การประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น